วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชากรจำนวน 42 ล้านคนพยายามหนีภัยธรรมชาติในปี 2010 และ 2011


กรณีศึกษา

ในปี 2010 และ 2011 ผลของภัยธรรมชาติทำให้ประชากรจำนวนมากมายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต้องหนีตายเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ


กรุงเทพมหานคร
เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เราหันกลับมาดูผลการศึกษาโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) มีประชากรจำนวนมากถึง 24 ล้านคนพยายามหนีภัยจาก วาตภัย อุทกภัย คลื่นความมวลความร้อน และสภาพอากาศหนาวเหน็บอันโหดร้ายในพื้นที่ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ใน 2 ปีที่ผ่านมา มีทั้งคนไร้ที่อยู่อาศัยชั่วคราว ซึ่งเป็นประเด็นในรายงานข่าวโดยองค์การพัฒนามนุษย์และสังคม

ทางภาคเหนือของประเทศไทย พบมีการเผาป่าหลายครั้งซึ่งฝุ่นควันจากการเผาทำให้รบกวนทัศนะวิสัยการจราจร ตรงนี้ทางรัฐบาลมีความกังวล เนื่องจากมีเด็กจำนวนมากมีปัญหาสุขภาพจากมลพิษอากาศนี้รวมทั้งส่งผลกระทบต่อศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย

ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย พม่า ลาว หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวไร่ชาวนาในพื้นที่จะทำการเผาหน้าดิน ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากยกเลิกเที่ยวบินและห้องพักในโรงแรมถูกยกเลิกด้วยเช่นกัน รัฐบาลออกมารณรงค์ไม่ให้ชาวบ้านเผาป่าอีก

ภัยธรรมชาติอันเนื่องมาจากฝีมือมนุษย์ทางภาคเหนือของประเทศไทยนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นกรณีแรก สภาพอากาศไม่ว่าจะเป็นที่ กัมพูชา พม่า ลาว จีนก็มีสภาพอากาศที่เป็นมลพิษไม่ต่างกัน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากฝีมือมนุษย์กระทำเองในช่วง 2 ปี หลังมานี้

ตามรายงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ภัยพิบัติส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศซึ่งชาวเอเชียมีความแข็งแกร่งมากกว่าประชากรส่วนอื่นๆของโลก มีการคาดการณ์และเตือนภัยหกประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีพื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อภัยพิบัติ ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ฟิลิปปินส์ อาฟกานิสถาน และพม่า หรือแม้กระทั่งประเทศไทย เวียดนามและกัมพูชา ซึ่งประชากรของโลกหนึ่งในสามอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

Bindu Lohani รองผู้อำนวยการธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ผู้ซึ่งพยายามผลักดันการพัฒนามาเป็นเวลานานได้มีคำเตือนไว้ในผลงานการศึกษา:

“รัฐบาลของแต่ละประเทศไม่ควรมีท่าทีลังเลอีกแล้ว ในขณะนี้พวกท่านสามารถจำกัดความเสี่ยงของภัยพิบัติและควบคุมจำนวนผู้อพยบหนีภัยธรรมชาติได้ เราไม่มีเวลามาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอันเร็วร้ายนี้แล้ว”

เราต้องหันมาให้ความใส่ใจกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งอาจต้องมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถึง สี่หมื่นล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2050  หากเราจำเป็นต้องสร้างอนาคตที่ยั่งยืนต่อไป
ในปี 2009 และ 2010 มีเงินช่วยเหลือประมาณ 4.4 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ

ราล์ฟ กวินเธอร์
ผู้ทำนาย นักคิด ที่ปรึกษาและนักเขียน


https://twitter.com/ # / AdamKadmonRalf
http://ralf-guenther.blogspot.com
http://jesuschristusmessias.wordpress.com
--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น